การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

แชร์เลย!
กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • ผู้เขียน
    ข้อความ
  • #9136
    admin
    Keymaster

    ชื่อเรื่อง   การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร)  เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์

    ปีการศึกษา      2565

    ชื่อผู้วิจัย   นายเสกสรรค์  สนผา

    ตำแหน่ง  ผู้อำนวยการสถานศึกษา

    วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

    โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร)  อำเภอเมืองอุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์

    บทคัดย่อ

    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อประเมินบริบท (Context) ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์  2)  เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์  3)  เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์  4)  เพี่อประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์  แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  แบ่งเป็น  4  กลุ่ม  คือครูผู้สอน  จำนวน  48  คน  นักเรียนที่ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 – มัธยมศึกษาปีที่  3  จำนวน  220  คนผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4 – มัธยมศึกษาปีที่  3  จำนวน  220  คน  และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน  13  คน   ซึ่งได้กำหนดขนาดแหล่งข้อมูลที่เป็นนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน  (Krejcie & Morgan)  แล้วจึงสุ่มแบบแบ่งชั้น(Stratified  Random  Sampling)  และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย  (Sample  Random  Sampling)  ส่วนแหล่งข้อมูลที่เป็นครู  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  เป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  จำนวน  5  ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับครูผู้สอน ฉบับที่ 1 สอบถามด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) และด้านกระบวนการ (Process) 2) แบบสอบถามสำหรับครูผู้สอน ฉบับที่ 2 ประเมินระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน เป็นการประเมินในด้านผลผลิต (Product)   3) แบบประเมินตนเอง ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน เป็นการประเมินในด้านผลผลิต (Product)  4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน สอบถามด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) และด้านกระบวนการ (Process)  5) แบบสอบถามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสอบถามด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) และด้านกระบวนการ (Process)  สถิติที่ใช้  ได้แก่  ค่าร้อยละ  (Percentage)  ค่าเฉลี่ย  (Mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation)

    ผลการวิจัย  พบว่า

    1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร)  เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์  ด้านบริบท  มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน

    2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์  โดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร)  เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์การประเมิน

    3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์  โดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านกระบวนการ  มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์การประเมิน

    4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์  โดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์  ด้านผลผลิต   มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์การประเมิน

     

     

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อตอบกลับกระทู้นี้